กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคบ.)
ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปคม., พ.ต.อ.ณรงค์ เทศวิบูลย์, พ.ต.อ.สุรพงษ์ ชาติสุทธิ์, พ.ต.อ.มารุต กาญจนขันธกุล, พ.ต.อ.ณัฏฐ์ สุวรรณวัฒนะ, พ.ต.อ.วุฒิชัย จันโทภาส, พ.ต.อ.ดวงโชติ สุวรรณจรัสฯ รอง ผบก.ปคม., พ.ต.อ.มนูญ แก้วก่ำ ผกก.3 บก.ปคม., พ.ต.อ.ณัฐพงษ์ เกิดเอี่ยม ผกก.6 บก.ปคม., พ.ต.อ.ทนงศักดิ์ ปันไชย ผกก.1 บก.ปคม.,พ.ต.ท.นภสินธุ์ ภูมี, พ.ต.ท.สามารถ เทพมณี รอง ผกก.6 บก.คปม., พ.ต.ท.สมเดช สาระบรรณ์, พ.ต.ท.อภิชน ขันกา รอง ผกก.3 บก.ปคม., พ.ต.ต.เชษฐ์ศุภากร พิริยะพงษ์พันธ์ สว.กก.3 บก.คปม.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม กก.3 บก.ปคม. นำโดย พ.ต.ท.กฤษฎา พลายละหาร, พ.ต.ต.เอกรัฐ จันทร์มณี สว.กก.3 บก.ปคม. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ กก.3 บก.ปคม. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม กก.6 บก.ปคม. นำโดย พ.ต.ท.วชิระ ศุภพิสิฐกุล รอง ผกก.6 (สอบสวน) บก.ปคม., พ.ต.ต.ชรัส มีล้ำ สว.กก.6 บก.ปคม. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ กก.6 บก.ปคม. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม กก.1 บก.ปคม. นำโดย ร.ต.อ.กิตติพงษ์ ศรีเมือง รอง สว.กก.1 บก.คปม. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ กก.6 บก.ปคม. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ กก.1 บก.ปคม.
ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาจำนวน 4 ราย คือ
1.นายดุสิต (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2891/2566 ลง 6 กันยายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันขัดขวางการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้เสียหายหรือพยาน เพื่อจูงใจให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด” สถานที่จับกุม บ้านหลังหนึ่ง ถ.รามคำแหง 91 ต.หัวหมาก อ.เขตบางกะปิ จ.กรุงเทพมหานคร
2. น.ส.สุภัจฉลีย์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2892/2566 ลง 6 กันยายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันขัดขวางการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้เสียหายหรือพยาน เพื่อจูงใจให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด” จับกุม บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ ซ.แจ้งวัฒนะ 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
3. น.ส.ปนัดดา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2893/2566 ลง 6 กันยายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันขัดขวางการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้เสียหายหรือพยาน เพื่อจูงใจให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด” สถานที่จับกุม บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง
4. นายธันว์ธเนศ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 2894/2566 ลง 6 กันยายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันขัดขวางการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้เสียหายหรือพยาน เพื่อจูงใจให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด” สถานที่จับกุม บ้านหลังหนึ่งซอยประชาอุทิศ 13 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2566 เวลาประมาณ 06.52 น.
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้รับแจ้งจากพยานในคดี ค้ามนุษย์ฯ ว่ามีทนายความโทรศัพท์มานัดหมายขอคุยที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่ใน จ.ชลบุรี เมื่อไปพบทนายความ
ตามที่นัดหมายที่ร้านอาหารดังกล่าว ก็ได้พบกับ นายดุสิตฯ และ น.ส.สุภัจฉลีย์ฯ และเมื่อได้พูดคุยกัน ทนายความทั้งสอง ได้สอบถาม พยานถึงเหตุการณ์ และวันเวลาเกิดเหตุในคดีที่พยานเป็นผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ ที่จะขึ้นเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล ในวันที่ 22 มิ.ย.2566 ซึ่งในนัดดังกล่าว เป็นวันที่ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ และทนายความทั้งสอง ได้ขอให้ พยานให้การตามที่ทนายความบอก คือให้การว่า ในวันเกิดเหตุ จำตัวบุคคลไม่ได้ เนื่องจากวันที่เกิดเหตุ กับวันที่ให้การต่อพนักงานสอบสวน มีระยะห่างกันหลายเดือน นายดุสิตฯ ให้ พยาน บอกว่า เข้าไปบ้านที่เกิดเหตุ (จำเลยในคดีค้ามนุษย์) หลายครั้งแล้ว เลยไม่แน่ใจว่าจริงๆ ผู้ที่พบเห็นนั้นคือคนเดียวกันกับ ผู้ต้องหาที่ซื้อบริการทางเพศจริงหรือไม่
ซึ่งแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ พยานได้เคยให้การไว้กับพนักงานสอบสวน โดยที่นายดุสิตฯ แจ้งว่าหาก พยาน ยินยอมเบิกความตามที่นายดุสิตฯ บอกนั้นจะมอบเงินให้ พยาน จำนวน 100,00 บาท โดยจะแบ่งให้ครั้งแรกจำนวน 50,000 บาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 50,000 บาท นั้น นายดุสิตฯ จะมอบให้หลังจากที่พยานเบิกความในชั้นศาลในวันที่ 22 มิ.ย.2566 ตามที่นายดุสิตฯ กับพวกแนะนำ
โดยในทางสืบสวนพบว่า นายธันว์ธเนศฯ มีความเกี่ยวข้องจากการแบ่งหน้าที่กันทำ โดยทำการแนะนำให้พยานในคดีค้ามนุษย์ เบิกความในชั้นศาลไปในทำนองเดียวกันกับนายดุสิตฯ และ น.ส.สุภัจฉลีย์ฯ บอก โดยให้พยานเบิกความ ว่าจำไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าคนที่มา เป็นจำเลยหรือผู้ซื้อบริการในคดีค้ามนุษย์หรือไม่ เพราะระยะห่างระหว่างเวลาแจ้งความกับเวลาที่เกิดเหตุ ผ่านไปประมาณ 5 เดือนแล้ว อีกทั้งยังเกี่ยวพัน
โดยการพาพยานไปรับเงิน จากกลุ่มทนายที่สำนักงานทนายความแห่งหนึ่งและได้รับผลประโยชน์จากเงินดังกล่าวบางส่วนอีกด้วย
ส่วน น.ส.ปนัดดาฯ ในทางสืบสวน ทราบว่า เป็นผู้นำเงินจำนวน 50,000 บาท ไปส่งมอบให้กับพยานในคดีรายหนึ่ง ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี พร้อมทั้งแนะนำให้พยานให้การว่าจำรูปไม่ได้ จำคนไม่ได้ หรือจำคนผิดหรือไม่แน่ใจ และให้บอกว่าเรื่องนี้มันเกิดมานานแล้ว หลังจากจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 แล้ว ได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ปคม. ดำเนินคดีต่อไป
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัยผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่มีหน้าที่ช่วยผดุงความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมนั้น ไม่เฉพาะ ตำรวจ หรือ ทนายความ ขอให้ตระหนักเรื่องอำนาจหน้าที่และความถูกต้องเป็นหลัก เพราะกรณีเช่นนี้ ขั้นตอนและกระบวนพิจารณาโดยเฉพาะทนายความผู้ซึ่งมีวิชาชีพและความรู้เฉพาะทางในด้วนกฎหมาย ย่อมรู้ดีว่า ขั้นตอนดังกล่าว ทนายย่อมมีหน้าที่ในชั้นศาลโดยใช้วิธีการของการ “ซักค้าน” พยานของโจทก์ หาใช่มาใช้วิธีการนำเงินมาเป็นสิ่งล่อใจให้พยานเบิกความไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ ซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรม เกิดความผิดเพี้ยนไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอำนวยการยุติธรรมของกระบวนการพิจารณาคดีได้