รัฐมนตรีทวีเปิด“มหกรรมรวมพลอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมคุมประพฤติ”…เน้นย้ำร่วมแก้ไขไม่ให้ผู้เสพกลับเสพซ้ำ

วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 11.00 น. ที่อาคารราชบุรีดิเรกฤิทธิ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกรียติ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. พ.ต.อ ทวี​ สอดส่อง​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเปิดโครงการ“มหกรรมรวมพลอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมคุมประพฤติ” โดยมีนายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมข้าราชการกรมคุมประพฤติคอยให้การต้อนรับ

โดยนายวีระกิตติ์ ได้กล่าวว่า”สืบเนื่องจากกรมคุมประพฤติซึ่งมีภารกิจในการแก้ไขและพัฒนาผู้ถูกคุมความประพฤติตามมาตรฐานงานคุมประพฤติ ส่งเสริมและเฝ้าระวังความปลอดภัยในชุมชนด้วยระบบงานคุมประพฤติและขับเคลื่อนการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขและพัฒนาผู้ถูกคุมความประพฤติซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อไม่ให้กระทำผิดซ้ำและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีอาสาสมัครคุมประพฤติซึ่งมีกว่า 2หมื่นรายทั่วประเทศเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติในการติดตามดูแล แก้ไขเยี่ยมเยือนผู้ถูกคุมความประพฤติในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติและแผนการแก้ไขฟื้นฟูที่กำหนดตามลักษณะของฐานความผิดและเพื่อตอบสนองและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ กรมคุมประพฤติจึงได้กำหนดจัด

“โครงการมหกรรมรวมพลอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมคุมประพฤติ” ขึ้น โดยมีอาสาสมัครคุมประพฤติร่วมแสดงพลังในวันนี้จำนวน 5,000 คน ลงพื้นที่ติดตามดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับผู้กระทำผิดในพื้นที่จำนวน 10,000ราย และรายงานผลการดำเนินการมายังส่วนกลางเพื่อให้เห็นถึงพลังการทำงานในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติในการร่วมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยเฉพาะคดียาเสพติด โดยมีพนักงานคุมประพฤติและเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติในพื้นที่ทั่วประเทศร่วมอำนวยการในโครงการครั้งนี้”

หลังจากนั้น พ.ต.อ.ทวี ได้กล่าวว่า”ตนมอบหมายนโยบายให้กรมคุมประพฤติ บูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) และภาคประชาชน ในการร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีอาสาสมัครคุมประพฤติซึ่งมีกว่า 20,000 รายทั่วประเทศเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจของกรมคุมประพฤติในพื้นที่ ซึ่งแนวทางการดำเนินการของกระทรวงยุติธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มี 2 มิติ คือ 1. มิติด้านการป้องกันและปราบปราม ซึ่งมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของ สำนักงาน ปปส. และ​ DSI 2.มิติด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เป็นหน้าที่ของกรมคุมประพฤติ เพื่อตัดตอนไม่ให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กลับไปใช้ยาเสพติดในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่ระบบการคุมความประพฤติกว่า 170,000 ราย สำหรับปี พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน (เดือนกันยายน 2566) มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่ระบบการคุมความประพฤติ ประมาณ 150,000 ราย รวมมีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่ระบบจำนวนทั้งสิ้นกว่า 320,000 ราย ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่กรมคุมประพฤติจะต้องดำเนินการไม่ให้ผู้กระทำผิดเหล่านี้หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำ และเพื่อตอบสนองและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ กรมคุมประพฤติจึงได้จัด “มหกรรมรวมพลอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมคุมประพฤติ” ขึ้น โดยมีอาสาสมัครคุมประพฤติร่วมแสดงพลัง จำนวน 5,000 คน ลงพื้นที่ติดตามดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับผู้กระทำผิดในพื้นที่จำนวน 10,000 ราย เพื่อให้เห็นถึงพลังการทำงานในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติในการร่วมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยเฉพาะคดียาเสพติด ที่อยู่ในระบบการคุมความประพฤติกว่า 320,000 ราย ไม่ให้หวนกลับไปเสพ/ติดยาเสพติด อันเป็นการลด Demand ความต้องการยาเสพติด ช่วยตัดตอนกระบวนการค้ายาเสพติดและง่ายต่อการปราบปรามมากยิ่งขึ้น”

รมว. กระทรวงยุติธรรม กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำนโยบายรัฐบาลให้หน่วยงานราชการบูรณาการและเป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ทั้งมิติด้านการป้องกันปราบปราม การควบคุมยาเสพติด การตรวจสอบทรัพย์สิน การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยยึดหลัก

นิติธรรมที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือพร้อมบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุมประพฤติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในมิติด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดที่มีอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของพนักงานคุมประพฤติในชุมชนที่จะติดตาม ดูแล และให้คำแนะนำสำหรับผู้กระทำผิดที่อยู่ในชุมชนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการคุมความประพฤติ เพื่อให้พ้นการคุมความประพฤติด้วยดีและไม่กระทำผิดซ้ำหรือไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอาชญากรรมต่างๆ อาสาสมัครคุมประพฤติ คือบุคคลสำคัญที่อยู่ในชุมชน อยู่ในพื้นที่ ดังนั้นการเข้าใจ เข้าถึงปัญหาและการแก้ไขคงไม่มีใครที่จะมีความรู้ลึกได้มากไปกว่า “อาสาสมัครคุมประพฤติ” ผมจึงขอถือโอกาสนี้เน้นย้ำการดูแลแก้ไขผู้กระทำผิดโดยมุ่งเน้นความร่วมมือของภาครัฐและพลังของอาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นสำคัญ”

หลังจากนั้นได้ทำพิธีเปิดพร้อมอาสาสมัครคุมประพฤติทั่วประเทศกว่า 5,000 คนลงพื้นที่ปฏิบัติภาระกิจโดยพร้อมเพรียงกัน