กรรมการบริหารบริษัทเซี่ยงไอ้ ไทยรับเบอร์ โปรดักส์

74

กรรมการบริหารบริษัทเซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์ โปรดักส์ จำกัดและคณะลงพื้นที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมร่วมลงพื้นที่วัดที่ดินเพื่อให้บริษัท เช่าเพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีขนส่งระบบราง(รถไฟ)
เมื่อเวลา 10.00น.วันที่ 07 พ.ย.67 ที่บริเวณสถานีรถไฟวังเย็น ตำบลวังเย็น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายยงยุทธ คงสวัสดิ์ กรรมการบริหารบริษัทเซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์ โปรดักส์ จำกัด พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ อดีตหัวหน้าฝ่ายบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาโครงการ,นายสมพงษ์ มุ่งเจริญวงศ์ ผู้บริหารโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษพญาตองซู (ภาคเอกชนไทย เมียนม่าร์)นายภัทรติพงษ์ เหลืองทอง กรรมการบริษัทเซี่ยงไฮ้รับเบอร์โปรดักส์ จำกัดฝ่ายบริหารการประชาสัมพันธ์และมวลชนสัมพันธ์และคณะได้ร่วมนำดอกไม้ธูปเทียนสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณโคนต้นโพธิ์ยักษ์อายุร่วม 100ปี บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีขนส่งระบบราง(รถไฟ)เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้การดำเนินก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจาคปัญหา อุปสรรคใดๆทั้งปวง ในการก่อสร้างอาคารสำนักงานส่วนราชการ อาทิเช่น กรมศุลกากร กรมวิชาการเกษตร กรมอนามัย พร้อมด้วยคลังสินค้า โรงเรือนซ่อมบำรุงเครื่องจักร สำหรับการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์สินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกระหว่างประเทศทางราง ก่อนจะร่วมลงพื้นที่ตรวจแนวเขตรังวัดที่ดินกับฝ่ายต่างๆประกอบด้วย

ฝ่ายการช่างโยธา ฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ฝ่ายการช่างกล ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ฝ่ายการอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม ผู้อำนวยการ่ายบริการสินค้าและหัวหน้ากองบริการสินค้าคอนเทนเนอร์เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ ณ.บริเวณสถานีรถไฟวังเย็นและพื้นที่โดยรอบโครงการ
ในด้านของนายยงยุทธ คงสวัสดิ์ กรรมการบริหารบริษัทเซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์ โปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับวันนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากคร้ังก่อนที่ได้มาลงพื้นที่ร่วมกัน โดยปัจจุบันนี้การเช่าที่ดินเป็นเรื่องของบริษัทลูก เพราะฉะนัันใบอนุญาติที่ออกมาจึงเป็น2ส่วน ซึ่งอีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่และนำมาคำนวนว่าพื้นที่เท่าไหร่ คิดรวมอย่างไง ระยะเวลาเช่าเท่าไหร่ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปีนี้ จากน้ันจะดำเนินการออกแบบ ก่อสร้างประมาณ 3 ปี โดยจะมีส่วนราชการรวมอยู่ตรงจุดนี้เลย รวมท้ังจุดรับส่งสินค้า โดยคาดว่าหลังจากรางวัดที่ินแล้วน่าจะเหลือพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 20 ไร่ เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งการลงพื้นที่ได้รับความมือจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี
สำหรับท่าเรือบก หมายถึง บริเวณพื้นที่ตอนในของประเทศที่มีการดำเนินการเป็นศูนย์โลจิสติกส์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนท่าเรือ ยกเว้นการขนถ่ายสินค้าขึ้น ลงเรือ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบตู้สินค้าและมีการเชื่อมโยงระบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป โดยมีการขนส่งทางรางเป็นหลักซึ่งจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่ที่รัฐบาลดำเนินการสร้างทั่วประเทศ ท่าเรือบกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ต้องการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าทางรางของไทยและเพื่อนบ้าน ผ่านประตูการค้าหลักคือท้่เรือแหลมฉบัง