14 กรกฎาคม 2541 ตระกูล ชินวัตร สู่ถนนเส้นทางการเมือง โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับชัยชนะ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ระหว่างปี 2544 – 2549 จนถูกรัฐประหารยึดอำนาจ และถูกสั่งยุบพรรค 30 พฤษภาคม 2550 รวมเวลา 8 ปี 320 วัน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยศในขณะนั้นได้ลี้ภัยและกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยถูกตัดสิทธิ์การเมืองจากไทยรักไทย สู่พรรคพลังประชาชน พรรคสำรองที่จดไว้เมื่อปี 2541
มี สมัคร สุนทรเวช ลาออกจากพรรคประชากรไทย มารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 – 30 กันยายน 2551 เพียง 1 ปี 37 วัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ ต่อมานายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ ที่พลังประชาชน เสนอนั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 เมื่อ 18 กันยายน-2 ธันวาคม 2551 ในปีเดียวกัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ มีมติยุบพรรคพลังประชาชน กับอีก 2 พรรคการเมือง พรรคชาติไทย กับพรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคเพื่อไทยชื่อสำรองได้มีการจดไว้เมื่อ 20 กันยายน 2550
ในปี 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มานั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ในปี 2554 ถูกแรงกดดัน กกปส.กลุ่มเสื้อเหลืองเดินลงพื้นที่ถนน 9 ธันวาคม 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงตัดสินใจยุบสภา และรักษาการณ์ กำลังจะกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.ยึดอำนาจ จึงต้องลี้ภัยไปอยู่กับพี่ชาย ดร.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปี 2557
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ได้มีการแก้รัฐธรรมนูญที่มีฉายารัฐธรรมนูญฉบับ มีชัยฤชุพันธ์ ข้อหนึ่งกำหนดการเลือกนายกรัฐมนตรีต้องมีมติเห็นชอบจากสส. 500 คน และสว. 250 คนเมื่อรวมแล้วต้องให้ได้ 376 เสียงขึ้นไป แต่งตั้ง กกต.ฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ ปี 2562 เปิดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้ชาวโลกได้รู้ประเทศไทยบริหารในระบอประชาธิปไตยเพื่อให้มีผลทางเศรษฐกิจ
15 มีนาคม 2561 นำโดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้จดตั้งพรรคอนาคตใหม่ เพื่อเตรียมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งอนาคตใหม่มีหลายพรรคการเมืองจับตามอง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แคนดิเดตนายกรัฐมตรีพรรคอนาคตใหม่ ผลการเลือกตั้งอนาคตใหม่ได้อันดับ 3 เหนือกว่าภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ ในเดือนพฤษภาคม 2562 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างเสนอชื่อมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฎิบิติหน้าที่และให้ออกจากห้องประชุม ต่อมามีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ที่ฝ่าฝืนมาตรา 72 ของพระราชบัญญิติประกอบรัฐธรรมนูญ ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 10 ปี พรรคก้าวไกลชื่อสำรองที่จดไว้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2557 โดยมี พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รับไม้ต่อจากอนาคตใหม่ สู่หัวหน้าพรรคก้าวไกล 14 พฤษภาคม 2566 การเลือกตั้งระหว่างขั้วอำนาจเดิม พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ชูนโยบายแข่งขัน ก้าวไกลงัดไม้เด็ดหรือฆ่าตัวตาย ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะแก้นโยบายกว่า 300 มาตรา หนึ่งในมาตราคือแก้ ม.112 ปรับการบริหารของหน่วยราชการ ไม่มีการเกณฑ์ทหาร ให้มีการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดมีการปรับโครงสร้างทางการค้าเพิ่มรายได้ จากนโบายที่นำเสนอ และอีกหลายนโยบาย ในที่สุดพรรคก้าวไกลได้สส.บัญชีรายชื่อและสส.เขตถึง 151 เสียงกว่า 14 ล้านเสียงมาเป็นอันอับดับ 1 เหนือความคาดหมายที่ก่อนเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยน่าจะได้อันดับ 1 แต่มาได้อันดับ 2 ด้วยสส.บัญชีรายขื่อ – สส.เขต 141 เสียง กว่า 10 ล้านคนที่ลงคะแนนใหม่แน่นอนสร้างความไม่พอใจจากขั้วอำนาจเก่าที่รวมกันแล้วได้เพียง 188 เสียง ถึงมีสว. 250 เสียงจะอยู่เบื้องหลังคงยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลเมื่อขั้วฝั่งประขาธิปไตยสามารถรวม 8 พรรคการเมือง 312 เสียงจัดตั้งรัฐบาล แต่คงยากที่จะฝ่าด่านสว. 250 คนได้สำเร็จเมื่อคสข.แต่งตั้งมากลับมือ จริงหรือเท็จขั้วอำนาจเก่าวางแผนสลาย 8 ขั้วพรรคการเมือง หาจุดอ่อนของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและนโยบายพรรคก้าวไกลหุ้นสื่อ ITV จุดสกัดแรกของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ด้วยมาตรา 151 ที่มีคนมาร้องเรียนกกต.รู้ว่าไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง แล้วไปลงสมัคร ทั้งที่กกต.เคยประกาศไม่รับเรื่องเพราะยื่นหลังเลือกตั้งก่อนมีการเลือกตั้งเลือกนายกฯรัฐมนตรี กลางเดือนมิถุนายน 2566 มีทนายท่านหนึ่งถามหาการยื่นต่ออัยการเรื่องนโบายพรรคก้าวไกลจะแก้ ม.112 ส่อมีการล้มสถาบันก่อนวันเลือกตั้งเหมือนทำเป็นขบวน สว.หน้าเดิมๆ ไม่กี่คนออกตามสื่อไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกลที่จะแก้ ม.112 ให้สัมภาษณ์สื่อทีวีหลายช่อง ในสัปดาห์เดียวกันกกต.รับลูกต่อหรือไม่ ออกมามีการนำเรื่อง ม.151 มาพิจารณาก่อนประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี 8 พรรคการเมืองประสานมีผู้สนับสนุน 380-390 เสียงกลับมามีกระแสว่ากกต.จะส่งให้ศาลรัฐนูญตีความในวันประชุม สร้างความสับสนในห้องประชุม สว.หลายท่านขอลาและงดออกเสียง พอเริ่มเปิดประชุม ชลน่าน ศรีแก้ว เสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังแนะนำตัวแทนที่จะให้อภิปรายว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด สส. – สว.กับอภิปรายเหมือนไม่ไว้วางใจกับการแก้ ม.112 เหมือนซื้อเซลในที่สุดกระแสข่าวว่ากกต.ส่งให้ศาลรัฐมนูญเพื่อรอว่ารับหรือไม่รับผล 324 เสียงเห็นด้วยไม่เห็นชอบ 188 เสียง 199 งดออกเสียง 19 กรกฎาคม 2566 มีการประชุมครั้งที่ 2 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี แผน 2 เริ่มขึ้น สว.หน้าเดิมๆ กับสส.บางคน ออกมาตีความว่าไม่มีสิทธิ์ส่งชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี อ้าง ม.41 วาระการประชุมตกไปแล้วต้องเสนอวาระต่อไป เช่น เดียวมีการอภิปรายซ้ำๆ จับใจความไม่ได้เหมือนซื้อเวลาอะไรสักอย่าง ก่อนเที่ยงมีข่าวสารจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์หยุดปฎิบัติหน้าที่สส.จนกว่ามีคำสั่งเปลี่ยนแปลงช่วงบ่าย 2 โมง มีจดหมายตัวจริงถึง ประธานรัฐสภา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รุกเดินออกจากห้องประชุม โชคดีที่ให้ร่ำลาเพื่อน สส.ในห้องประชุม ผิดกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจที่ถูกข้อหาเดียวกันไม่เปิดให้ร่ำลาเพื่อน สส.ด้วยกันกระแสการหยุดปฎิบัติหน้าที่ของพิธาศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะตีความผู้ที่มาร้องให้ยุบพรรคก้าวไกล ที่มีนโยบายในการแก้ ม.112 ส่อมีการล้มสถาบัน ในที่สุดพรรคก้าวไกลยอมให้พรรคเพื่อไทย จัดตั้งรัฐบาล เพื่อไทยจึงปฎิบัติทันทีเพื่อให้เศรษฐกิจได้เดินต่อ ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม เพื่อไทยได้เชิญขั้วอำนาจเดิมไม่ว่าภูมิใจไทย ชาติพัฒนากล้า รวมไทยสร้างชาติ ชาติไทยพัฒนา พลังประชารัฐฯลฯ ต่างบอกว่ายินดีจะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ร่วมกับพรรคก้าวไกล โดยอ้างว่าจะแก้ ม.112 ข้อเดียวหรือมีอะไรมากกว่านี้ กระแสนายทุนไม่เอาหน่วยงานราชการไม่ยอมจับตาเป็นแผนอำนาจมืดที่ต้องการสลายขั้วเพื่อไทยกับก้าวไกล คงสร้างความกดดันพรรคเพื่อไทยหรืออยากเป็นรัฐบาล ชั้นเชิงต่างฝ่ายวางหมากกันหลายชั้นเพื่อไทยรอคำตอบให้ก้าวไกลยอมถอยเป็นฝ่ายค้าน ก้าวไกลก็รอคำตอบขอยกเลิก MOU ที่เคยทำไว้กับ 8 พรรคการเมืองหากเพื่อไทยจะไปขอร่วมกับอำนาจเก่าจัดตั้งรัฐบาล เพื่ออยากเป็นรัฐบาลที่ห่างเหินไปหลายปีหรือเพื่อให้คนต่างแดนได้กลับประเทศไทย การเลือกตั้งสมัยหน้าส่อเค้าได้ สส.เพียงหลักสิบ หรือรอเวลาถูกยุบพรรคอีกครั้งส่วนก้าวไกลคงต้องจับตาว่าจะถูกยุบพรรคหรือไม่ และพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับกรรมการบริหารจะถูกตัดสิทธิ์การเมืองเหมือนกรรมการบริหารอนาคตใหม่ หากสวรรค์มีจริง สส. ไม่ถูกตัดสิทธิ์ คงต้องหาผู้นำนาวาคนใหม่นำทัพให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน
เทพหน้าดำ/การเมืองชุมชน