นโยบาลงรัฐบาล แจกเงิน ผ่านเดิจิทัลวอลเล็ท10,000 บาท การแถลงนโยบายรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย.66 ที่ผ่านมาที่โดยในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีเตรียมแถลงต่อรัฐสภาด้วยนโยบายเร่งด่วน 5 นโยบายหลัก
ทั้งนี้ตามเอกสารคำแถลงนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ความยาว 52 หน้า ที่สื่อมวลชนได้รับ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ นโยบายในกรอบระยะสั้น ซึ่งใจความระบุว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกระตุ้นการใช้จ่าย ให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง และเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว
โดยนโยบายเร่งด่วนทั้งสิ้น 5 นโยบาย ได้แก่ เงินดิจิทัลวอลเล็ท 10,000 บาท, การแก้ปัญหาหนี้สิน, การลดค่าค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง, การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาความเห็นต่างในรัฐธรรมนูญ
นโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกบรรจุในร่างคำแถลงนโยบายเร่งด่วน ระบุสาระสำคัญว่าการแก้ไขจะไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ และรัฐบาลจะหารือแนวทางการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
ส่วนนโยบายกรอบระยะกลางและระยะยาว ระบุประเด็นนโยบาย 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างรายได้ให้กับประชาชน การสร้างโอกาส และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยแตกย่อยได้เป็นอย่างน้อย 20 นโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, นโยบาย “พัฒนากองทัพ”, นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์เพาเวอร์ เป็นต้น
ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีการสรุปสาระสำคัญของนโยบายของรัฐบาล “เศรษฐา 1” ดังนี้
5 นโยบายเร่งด่วน เงินดิจิทัลวอลเล็ท-พักหนี้เกษตรกร-ลดค่าไฟ ค่าน้ำมัน มาตามสัญญาหาเสียง
1. เติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ท
เอกสารแถลงนโยบายระบุว่า รัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนที่จะกระตุกเศรษฐกิจประเทศให้ตื่นมาอีกครั้ง ด้วยการใส่เงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจฐานราก ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผ่านการขยายการลงทุน ขยายกิจการ จ้างงาน สร้างอาชีพ โดยรัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปของภาษี นอกจากนี้จะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสให้กับกลไกการชำระเงินของระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล
2. แก้ปัญหาหนี้สินในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
ภาคเกษตร – พักหนี้เกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม
ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไป – ช่วยประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงินสำหรับประชาชนทั่วไป ครอบคลุมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มอื่น ๆ โดยไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม
3. ลดค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำมัน ทันที
รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที
คำแถลงระบุด้วยว่า จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิต และการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เร่งเจรจาการใช้พื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียงและสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม พร้อมสนับสนุนการจัดหาพลังงานใหม่ ๆ
4. ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ปรับปรุงการขอวีซ่า เพิ่มสนามบินและเที่ยวบินเข้าไทย
คำแถลงของรัฐบาลระบุว่า “การท่องเที่ยวจะเป็นกุญแจดอกแรกในการสร้างรายได้ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น”
รัฐบาลตั้งเป้าเปิดประตูรับนักท่องเที่ยว ด้วยการปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่า และการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเป้าหมาย, จัดทำ Fast Track VISA สำหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE), ร่วมกับภาคธุรกิจในทุกภาคส่วนเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า งานเทศกาลระดับโลก, ปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เช่น ปรับปรุงสนามบินและจัดเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศ เพิ่มปริมาณเที่ยวบินให้สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าไทยได้มากขึ้น และแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปรามการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
5. แก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ ไม่แก้หมวดพระมหากษัตริย์
คำแถลงนโยบายระบุถึงนโยบายเร่งด่วนสุดท้าย คือการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์
คำแถลงนโยบายระบุว่า รัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อยู่บนเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทย มีรายละเอียดว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” จะจัดทำโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและผ่านขั้นตอนการออกเสียงลงประชามติโดยประชาชน
“พัฒนากองทัพ” – 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์เพาเวอร์ อยู่ในนโยบายระยะกลาง-ระยะยาว นอกเหนือจากนโยบายเร่งด่วน เอกสารคำแถลงนโยบายระบุด้วยว่า รัฐบาลยังมีนโยบายที่ส่งผลกระทบระยะกลางและระยะยาว เพื่อสร้างชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนไทยในหลายมิติ ครอบคลุม “การสร้างรายได้ สร้างโอกาส สร้างคุณภาพชีวิต และคืนศักดิ์ศรีของการเป็นคนไทย